โรคเบาหวาน

Last updated: 8 ม.ค. 2567  |  3544 จำนวนผู้เข้าชม  | 

โรคเบาหวาน

 หันไปทางไหน ใครๆ ก็ป่วยเป็นโรคเบาหวาน 
 ไม่อยากเป็นโรคเบาหวานทานยาเป็นกระสอบ 
>>ฟังทางนี้<<
  
 10 อาการที่มีความเสี่ยง...คุณมีอาการแบบนี้หรือไม่ ??
 
1. อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ทั้งๆ ที่พักผ่อนเพียงพอ และไม่ได้ป่วยไข้
2. ผอมลง อย่างไม่ทราบสาเหตุ
3. ฉี่บ่อยมากกว่าปกติ โดยเฉพาะเวลากลางคืน
4. แผลหายช้า ไม่แห้งสนิท หรือขึ้นสะเก็ดเสียที 
5. หิวน้ำมากกว่าปกติ (เพราะร่างกายสูญเสียน้ำจากการปัสสาวะบ่อย)
6. ตาพร่ามัวลงอย่างไม่ทราบสาเหตุ
7. ปวดเข่า ปวดขา
8. ผิวหนังแห้ง และมีอาการคันตามตัว หรือคันบริเวณปากช่องคลอด
9. น้ำหนักลด โดยไม่ทราบสาเหตุ 
10. โมโหง่าย อารมณ์แปรปรวน 


 
โรคเบาหวาน มี 2 ชนิด คือ

เบาหวานประเภทที่ 1 (Diabetes Type1) เกิดจากเซลล์ตับอ่อนถูกทำลาย โดยภูมิคุ้มกันของร่างกายทำให้ขาดอินซูลิน มักพบในเด็ก

เบาหวานประเภทที่ 2 (Diabetes Type2) เป็นชนิดที่พบบ่อยที่สุด (ร้อยละ 95 ของผู้ป่วยเบาหวานทั้งหมด) เกิดจากภาวะดื้ออินซูลิน สาเหตุทางพันธุกรรมและพฤติกรรมการใช้ชีวิต มีผลให้การสร้างอินซูลินไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย หรือร่างกายดื้อต่ออินซูลิน การรับประทานอาหารที่มีน้ำตาลสูงเป็นเวลานานก็เป็นปัจจัยส่งเสริมให้เป็นเบาหวานได้ หากร่างกายไม่สามารถผลิตอินซูลินออกมาเพียงพอ นอกจากนี้อาหารที่มีไขมันอิ่มตัวมีผลต่อการออกฤทธิของอินซูลิน ทำให้การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดีก็ควรหลีกเลี่ยง มักพบในผู้ใหญ่หรือผู้ที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วน

โรคเบาหวาน เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตของคนไทยปีละประมาณ 20,000 คน มีอีกหลายโรคที่เกี่ยวข้องกับเบาหวาน เช่น ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ และ พบว่าคนที่เป็นโรคหัวใจและเป็นเบาหวานร่วมด้วย มีความเสี่ยงเกิดอาการหัวใจวาย หรือ กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันมากกว่าเกือบสองเท่าของคนที่ไม่เป็นเบาหวานร่วมด้วย และหากควบคุมเบาหวานได้ไม่ดี ยังทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้อีก เช่น ตาบอด ผิวหนังอักเสบ ติดเชื้อ เซลล์ประสาทถูกทำลาย
 


เซซามิน(Sesamin)สารสกัดจากงาดำช่วยผู้ที่เป็นโรคเบาหวานได้อย่างไร

สาเหตุหนึ่ง ของโรคเบาหวาน มาจากการอักเสบระดับเนื้อเยื่อและการอักเสบระดับเซลล์ ทำให้มีการหลั่งสารสื่ออักเสบชนิด IL-1 และ TNF-Alpha,Beta มากขึ้น

เมื่อมีการศึกษาวิจัยในระดับเนื้อเยื่อ และระดับโมเลกุล ทำให้สามารถรวบรวมความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานและการอักเสบผลกระทบมาจากพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งส่งผลโดยตรง บางคนมีความว่องไวต่อการเป็นโรคเบาหวานในขณะที่บางคนก็ต้านทานต่อการเป็นโรคเบาหวานได้ ขึ้นอยู่กับระบบภูมิคุ้มกันในของร่างกายแต่ละคน

คนที่ไวต่อการเป็นโรคเบาหวาน เกิดจากกระบวนการในร่างกายของเขาถูกระตุ้นให้เกิดสารสื่ออักเสบ เช่น Interleukin-1 , TNF-Alpha และสารอักเสบต่างๆมากมาย จนส่งผลกระทบต่อเซลล์เนื้อเยื่อ ทำให้เเกิดอนุมูลอิสระเช่น oxygen radical และ nitrogen radical ได้ และก่อให้เกิดความเสียหายกับเนื้อเยื่อ หรือทำลายเซลล์ที่ทำหน้าที่ผลิตสารสำคัญ เช่น ฮอร์โมนอินซูลินเบาหวานชนิดที่ 1 หรือ Type-I Diabetes นอกจากนี้ ยังอาจมีผลกระทบต่อตัวรับสัญญาณของอินซูลินที่อยู่บนผิวเซลล์ ที่ทำให้อินซูลินไม่สามารถออกฤทธิ์ได้ รวมทั้งสาเหตุอื่น ๆ ของการอักเสบในระดับเซลล์และภายในเซลล์อีกมากมายที่ทำให้เกิดเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 หรือ Type-II

โรคเบาหวาน เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคอื่นๆ ตามมาอีกได้มากมาย เช่น แผลเน่าที่เท้า แขน ขา ซึ่งไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ทำให้เป็นแผลเรื้อรัง จนหลายรายต้องตัดอวัยวะส่วนนั้นทิ้งไป โรคความดันโลหิตสูง จอประสาทตาเสื่อม และ โรคไต ซึ่งทำให้เกิดอาการไตวายและเสียชีวิตในที่สุด

มีงานวิจัยตีพิมพ์ในวารสาร ชื่อ European Journal of Pharmacology ปี 2012 รายงานว่า เซซามิน สารสกัดจากงาดำ ช่วยดูแลปกป้องไต จากการที่มีความดันโลหิตสูง หรือที่เกิดจากการมีน้ำตาลสูง โดยพบว่าเซซามินมีกลไกไปเพิ่มการทำงานของ NO ที่ทำหน้าที่ขยายหลอดเลือดแดงได้ ทำให้ความดันลดลง ไตก็จะทำงานน้อยลง
 
ที่มาข้อมูล : หนังสือสรรพคุณมหัศจรรย์ แห่งเซซามิน สารสกัดจากงาดำ โดย ศ.ดร.ปรัชญา คงทวีเลิศ


 
10 ความเชื่อกับความจริง..เรื่องโรคเบาหวาน ที่ต้องรู้

ความเชื่อ 1 : รับประทานอาหารที่มีน้ำตาลสูงทำให้เป็นโรคเบาหวาน?
ความจริง : โรคเบาหวานมี 2 ชนิด คือ โรคเบาหวานประเภทที่ 1 (Diabetes Type1) เกิดจากสาเหตุพันธุกรรมและยังไม่ทราบปัจจัยแน่ชัดทำให้ตับอ่อนไม่สามารถสร้างอินซูลินได้ โรคเบาหวานประเภทที่ 2 (Diabetes Type2) เกิดจากสาเหตุทางพันธุกรรมและพฤติกรรมการใช้ชีวิต มีผลทำให้การสร้างอินซูลินไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย หรือร่างกายดื้อต่ออินซูลิน การรับประทานอาหารที่มีน้ำตาลสูงเป็นเวลานานก็เป็นปัจจัยส่งเสริมให้เป็นเบาหวานได้ หากร่างกายไม่สามารถผลิตอินซูลินออกมาเพียงพอ นอกจากนี้อาหารที่มีไขมันอิ่มตัวมีผลต่อการออกฤทธิของอินซูลิน ทำให้การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดีก็ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีน้ำตาลสูง

ความเชื่อ 2 : โรคเบาหวานเป็นโรคของคนแก่?
ความจริง : โรคเบาหวานสามารถเกิดได้กับคนทุกช่วงอายุ ขึ้นอยู่กับสาเหตุและปัจจัยส่งเสริมให้เกิดโรคเบาหวาน
โรคเบาหวานประเภทที่ 1 ส่วนใหญ่มักเกิดในเด็ก หรือคนอายุน้อย ส่วนโรคเบาหวานประเภทที่ 2 ส่วนใหญ่มักเกิดในคนอายุ 45 ปีขึ้นไป แต่ปัจจุบันเริ่มพบ คนเป็นโรคเบาหวานประเภทที่ 2 อายุน้อยลง

ความเชื่อ 3 : คนที่เป็นโรคเบาหวานจะรู้ตัวหากมีน้ำตาลในเลือดต่ำ?
ความจริง : อาการของภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ คือ วิงเวียนศีรษะ อ่อนเพลีย หัวใจเต้นแรง ตัวเย็น เหงื่อออก ปากแห้ง อาการใจสั่น  ไม่ใช่ทุกคนที่จะมีอาการเมื่อมีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ หรืออาการแต่ละบุคคลอาจแตกต่างกัน จึงควรตรวจระดับน้ำตาลในเลือด เมื่อมีอาการหรือสงสัยว่ามีน้ำตาลในเลือดต่ำ และรีบแก้ไขทันที เพราะภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ มีผลให้เกิดภาวะช็อค หรือเสียชีวิตได้

ความเชื่อ 4 : โรคเบาหวานเป็นโรคไม่น่ากลัว ใครๆก็เป็นกัน?
ความจริง : โรคเบาหวานเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตของคนไทยปีละประมาณ 20,000 คน นอกจากนี้เบาหวานเกี่ยวข้องกับการเป็นโรคอื่นๆ เช่น ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ และพบว่าคนที่เป็นโรคหัวใจและเป็นเบาหวานร่วมด้วย มีความเสี่ยงเกิดอาการหัวใจวายหรือกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันมากกว่าเกือบสองเท่าของคนที่ไม่เป็นเบาหวานร่วมด้วย นอกจากนี้หากการควบคุมเบาหวานไม่ดี ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้ เช่น ตาบอด ผิวหนังอักเสบติดเชื้อ เซลล์ประสาทถูกทำลาย เป็นแผลแล้วหายยาก  เป็นโรคไตวาย เนื่องจากกินยารักษาเบาหวานเป็นระยะเวลานาน ๆ 

ความเชื่อ 5 : เป็นโรคเบาหวานห้ามกินขนมหวาน หรืออาหารที่มีความหวาน?
ความจริง : เพราะภาวะน้ำตาลในเลือดสูงเป็นผลให้เกิดเบาหวาน  คนส่วนใหญ่จึงคิดว่าควรงดอาหารที่มีน้ำตาล แต่อย่างไรก็ตาม หากรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ในสัดส่วนที่เหมาะสม ร่วมกับการออกกำลังกาย การรับประทานผลไม้ หรือขนมหวานก็ยังสามารถรับประทานได้แต่ไม่ควรมากเกินไป

ความเชื่อ 6 : เป็นโรคเบาหวานห้ามให้เลือด?
ความจริง : เป็นโรคเบาหวานสามารถให้เลือดได้ ถ้าการควบคุมระดับน้ำตาลอยู่ในเกณฑ์ปกติ และไม่มีภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของเจ้าหน้าที่ผู้รับบริจาคโลหิตอีกครั้ง
 
 

ความเชื่อ 7 : โรคเบาหวานเป็นโรคของคนอ้วน?
ความจริง : ไม่ว่าคนอ้วนหรือคนผอมก็สามารถเป็นโรคเบาหวานได้  เพราะโรคเบาหวานเกิดจากหลายสาเหตุ ทั้งจาก พันธุกรรม พฤติกรรมการใช้ชีวิต รับประทานอาหารมีแคลลอรี่สูง น้ำตาลสูง และไม่ออกกำลังกาย ความเครียด นอนพักผ่อนไม่เพียงพอ ปัจจัยเหล่านี้สามารถส่งผลให้เกิดโรคเบาหวานได้  แต่พบว่าคนอ้วนเป็นเบาหวานมากกว่า เนื่องจากพฤติกรรมการกิน และ การวิจัยพบว่าในคนอ้วนส่วนใหญ่ระดับการผลิตอินซูลินปกติ หรือ มากกว่าปกติ แต่เซลล์ในร่างกายมีผลดื้อต่ออินซูลิน

ความเชื่อ 8 : ในครอบครัวไม่มีใครเป็นโรคเบาหวาน เพราะฉะนั้นเราจะไม่เป็นโรคเบาหวาน?
ความจริง : ปัจจัยทางพันธุกรรมเป็นหนึ่งในหลายปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคเบาหวานประเภทที่ 2 ถึงแม้ว่าไม่มีคนในครอบครัวเป็นโรคเบาหวาน แต่เราก็สามารถเป็นได้หากใช้พฤติกรรมไม่เหมาะสม

ความเชื่อ 9 : ถ้าเป็นโรคเบาหวานต้องฉีดอินซูลิน แสดงว่าอาการแย่แล้ว ?
ความจริง : การรักษาโรคเบาหวาน มีเป้าหมายควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน กรณีที่ควบคุมอาหาร ออกกำลังกาย ใช้ยารับประทานแล้วยังไม่สามรถคุมระดับน้ำตาลได้ จึงจำเป็นต้องใช้ยาฉีดอินซูลินร่วมด้วย

ความเชื่อ 10 : เป็นโรคเบาหวานต้องรักษาด้วยอินซูลิน
 
ความจริง : การรักษาโรคเบาหวานประเภทที่ 2 สามารถป้องกัน ควบคุมโรคได้ เพียงแค่ดูแลการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ถูกสัดส่วน  การออกกำลังกาย และ รับประทานยาร่วมด้วยแต่หากยังไม่สามรถควบคุมระดับน้ำตาลได้ตามเกณฑ์ จึงมีการใช้อินซูลินร่วมด้วย ส่วนโรคเบาหวานประเภทที่ 1 เนื่องจากสาเหตุของพันธุกรรม ระบบภูมิคุ้มกัน มีผลให้ไม่สามารถผลิตอินซูลินได้ จึงต้องรักษาโดยการให้อินซูลินเป็นหลัก 
 
โรคเบาหวาน ไม่ใช่โรคประจำตัวที่ทุกคนต้องเป็น...ห่างไกลโรคเบาหวานง่ายๆ โดยเริ่มต้นที่ตัวเรา...ปรึกษาปัญหาสุขภาพ...คลิ๊กเลยคะ

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้